วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

การนำเสนอผลการศึกษาค้นค้วา

การนำเสนอแนวคิดและผลการศึกษาค้นคว้าทั้งด้านวาจา และลายลักษณ์อักษร จะให้มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้


1. มีรูปแบบเด่นชัด

2. สาระเนื้อหาถูกต้อง

3. เป็นเอกภาพ สัมพันธภาพตรงประเด็น

4. มีหลักฐานอ้างอิง

5. ภาษาถูกต้องตามรูปแบบทางราชการ

6. มีแผนเตรียมการที่รอบคอบเหมาะสม ดังนี้

6.1 การเตรียมการ เป็นการวางแผนเพื่อนำเสนอแนวคิด และผลการศึกษาค้นคว้า เพื่อมุ่งให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีการวางแผนเตรียมการในเรื่องต่อไปนี้

6.1.1 การรวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บข้อเท็จจริง เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนแนวคิด การวิเคราะห์วิจัยในเรื่องที่ดำเนินการจัดทำ เพื่อให้มีคุณค่าน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลนั้นมี 2 ประเภท คือ

- ข้อมูลขั้นปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลตรงจากแหล่งข้อมูลที่ยังไม่มีผู้ใดรวบรวมไว้ เช่น ข้อมูลจากแบบสอบถาม เป็นต้น

- ข้อมูลขั้นทูติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น ข้อมูลจากเอกสาร หรือ CD-Rom เป็นต้น การเก็บข้อมูลมีแนวการเก็บดังนี้ การอ่าน การฟัง การสังเกต การสำรวจ การสัมภาษณ์ การถ่ายภาพ การทดลอง การศึกษาเฉพาะกรณี การบันทึกเสียง บันทึกวิดีทัศน์ การใช้แบบสอบถาม การสืบค้นจากอิเล็กทรอนิกส์

6.1.2 การตรวจสอบข้อมูล มีเกณฑ์ในการตรวจสอบดังนี้

- ความถูกต้องของข้อมูล เน้นความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือ ขอบเขตเนื้อหาเด่นชัด

- ความทันสมัยของข้อมูล โดยพิจารณาย้อนหลัง 5 ปี ศาสตร์บางอย่างมีข้อมูลเที่ยงตรงตลอด ก็ให้ถือว่าเป็นข้อมูลทันสมัย

- การตรวจสอบลิขสิทธิ์ เน้นตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล ต้องให้มีอ้างอิงและถูกต้อง เพื่อให้เกียรติเจ้าของข้อมูล และตรวจสอบได้

6.1.3 การบันทึกข้อมูล เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร ต้องมีการเตรียมจับเก็บข้อมูล ดังนี้

- เตรียมบัตรบันทึกข้อมูล ขนาด 3 x 5 นิ้ว 4 x 6 นิ้ว 5 x 7 นิ้ว สำหรับผู้ใช้บันทึกข้อมูล โดยลงรายการ ดังนี้

1. หัวข้อเรื่อง

2. แหล่งข้อมูลหรือบรรณานุกรม

3. เลขหน้าอ้างอิง

4. เนื้อหา

- เตรียมวิธีบันทึกข้อมูล ซึ่งมี 3 วิธี คือ

1. บันทึกแบบคัดลอก (Quotation Note) เกี่ยวกับเรื่อง คำจำกับความ กฎระเบียบ ความหมาย โอวาท

2. บันทึกแบบสรุปความ (Summary Note) บันทึกเกี่ยวกับสาระเนื้อหา แนวคิด เหตุผล หลักการ

3. บันทึกแบบถอดความ (Paraphrase Note) เป็นการบันทึกข้อความโดยวิธีลอกข้อความ และถอดสาระเนื้อหา
6.1.4 การวางแผนการนำเสนอข้อมูล


- การวางแผนการเสนอข้อมูลด้านวาจา เป็นการเตรียมการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพูด ซึ่งมีการเตรียมการดังนี้

1. เตรียมเรื่องที่จะพูด

2. วิเคราะห์วัตถุประสงค์การพูดแต่ละครั้งว่าให้ความรู้หรือความเพลิดเพลิน

3. วิเคราะห์ผู้ฟัง เกี่ยวกับจำนวน เพศ วัย การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ

4. วิเคราะห์ตัวผู้พูด ด้านความรู้ความถนัด

5. วิเคราะห์กาลเทศะ ระยะเวลา สถานที่ บรรยากาศ

6. วางโครงเรื่องที่จะพูด การเริ่มเรื่อง ดำเนินเรื่อง และจบเรื่องให้ชัดเจน

7. การเขียนบทพูด เริ่มตั้งแต่การปฏิสันถาน เป็นต้นไป

8. ต้องมีการฝึกซ้อม การพูด ภาษา ท่าทาง น้ำเสียง สายตา และการใช้สื่อ

- การวางแผนการนำเสนอด้วยลายลักษณ์อักษร

1. การเขียนโครงการวิชาการ มุ่งประโยชน์ทางวิชาการ ช่วยให้เกิดการวางแผนการทำงาน ด้านการศึกษา การริเริ่มปฏิบัติงานใหม่ ๆ มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ส่วนนำ ประกอบด้วย ชื่อโคงการ ผู้รับผิดชอบ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ส่วนเนื้อความ ประกอบด้วย วิธีดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ สถานที่ดำเนินการ งบประมาณ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การประเมินผล

2. การเขียนรายงานทางวิชาการ มีการเตรียมการวางแผนดำเนินการดังนี้ การเลือกเรื่อง การสำรวจแหล่งข้อมูล การวางโครงเรื่อง การเก็บข้อมูล การเรียบเรียงเป็นรูปเล่มเอกสาร

- การวางแผนการนำเสนอด้วยสื่อประสม เป็นการนำเสนอแบบผสมผสาน เกี่ยวกับการพูด การเขียน การจัดแสดงและกิจกรรมสร้างสรรค์ การวางแผนเตรียมการควรคำนึงถึง

1. เป็นเรื่องที่สำคัญ

2. มีเป้าหมายชัดเจน

3. มีงบประมาณมากพอ

4. มีระยะเวลาเตรียมการ ปฏิบัติ จัดแสดงให้พอ

6.2 การนำเสนอแนวคิดและผลการศึกษาค้นคว้า

6.2.1 การนำเสนอด้วยลายลักษณ์อักษร

- โครงการวิชาการ เป็นการนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติปฏิบัติงาน และถือเป็นแนวปฏิบัติงาน

ที่เป็นรูปธรรม โครงการวิชาการที่ดีต้องมีหลักเกณฑ์ในการเขียน กล่าวคือ ต้องเตรียมเรื่องและข้อมูลให้ชัดเจน เวลาเขียน

ต้องให้ตอบสนองต่อนโยบายขององค์กร ต้องเตรียมกิจกรรมกลวิธี หรือมาตรการให้แน่นอน และที่สำคัญต้องมีแผนปฏิบัติการ

หรือองค์ประกอบที่ครบถ้วน ซึ่งมีลำดับขั้นดังนี้

1. ชื่อโครงการ

2. ชื่อผู้เสนอหรือผู้ดำเนินการ

3. หลักการและเหตุผล บอกภูมิหลังหรือเหตุผลที่ต้องดำเนินการ

4. วัตถุประสงค์

5. กลุ่มเป้าหมาย

6. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน

7. วิธีดำเนินการ

8. งบประมาณ

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

10. การประเมินผล

- รายงานทางวิชาการ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีแบบแผนการนำเสนอที่ชัดเจน ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

1. ส่วนนำเรื่อง ประกอบด้วย ปกนอก ใบรองปก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ ส่วนนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องชัดเจน ตามรูปแบบการเขียนรายงาน

2. ส่วนเนื่อเรื่อง ประกอบด้วย บทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป ส่วนนี้ต้องเรียบเรียงให้เป็นระบบ ที่ทั้งอ้างอิง เชิงอรรถ ให้ชัดเจน

3. ส่วนท้ายเรื่อง ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก ดรรชนี อภิธานศัพท์ ข้อสำคัญ การทำรายงานาทุกครั้ง ต้องมีบรรณานุกรมไว้เสมอ

การเรียบเรียงรายงานวิชาการ กำหนดให้เรียบเรียงไปตามลำดับ เนื้อหา ในโครงเรื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง เข้าใจง่าย เนื้อหาให้มีเอกภาพ สัมพันธภาพ มีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน รูปแบบ การเขียน และพิมพ์ถูกต้อง เหมาะสมตามสากลนิยม

- การอ้างอิง เป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาสนับสนุนงานเขียน มี 2 ประเภท คือ การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา กับการอ้างอิงแบบเชิงอรรถหรือท้ายหน้า การอ้างอิงประเภทแทรกปนในเนื้อหา โดยเฉพาะการอ้างอิงระบบนาม ปี เป็นที่นิยมมาก เพราะใช้สะดวก รวดเร็วและเรียบร้อย ตัวอย่างการใช้อ้างอิงระบบนาม ปี ให้ระบุเฉพาะชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และเลขหน้าเท่านั้น เช่น

..................... อาหารที่มีกากใยมาก ๆ จะช่วยลดระดับไขมันในร่างกายได้มาก ทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายน้อยลง

(เกษมศรี วงศ์เลิศวิทย์. 2537 : 79)

มนตรี ตู้จินดา. (2532 : 49) ได้กล่าวถึงความหมายโรคแพ้อากาศว่า "โรคแพ้อากาศหมายถึง ภาวะเยื่อจมูกอักเสบ เกิดอาการคัน น้ำมูกไหล"

- การเขียนบรรณานุกรม บรรณานุกรมเป็นรายชื่อสิ่งพิมพ์ หรือโสตทัศนวัสดุที่ใช้อ้างอิงในงานเขียนรายงาน จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกียรติแก่ผู้เขียนตำรา เพื่อการตรวจสอบได้หรือเพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ การเขียนบรรณานุกรมให้เขียนคำว่า บรรณานุกรม กลางหน้ากระดาษตอนบน ลงรายการการบรรณานุกรม เรื่อง ตามลำดับอักษร ตัวอย่าง



บรรณานุกรม



ซูม (นามแฝง). 2536. "นักลงทุนคิดอย่างไร." ไทยรัฐ. (4 เมษายน 2536) : 6.

ณรงค์ รักฝึกฝน. 2521. ภาษาบาลีสันสกฤตมีบทบาทต่อการใช้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจารึกตะวันออก. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนตรี ตู้จินดา. 2532. โรคภูมิแพ้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.

หมดนักข่าว (นามแฝง). 2535. "โรคเอดส์." ใกล้หมอ. 11 : 16 (ตุลาคม 2535) : 15.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น